HISTORY - ประวัติความเป็นมา
CAR OF THE YEAR 2017
กิจกรรม Car of The Year 2017 ในครั้งนี้ นับเป็นปีที่ 19 ซึ่ง บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะแกนนำผู้จัดงาน มีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อคัดสรรรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี จากการทดสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ รวมทั้งยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย ผู้ทรงคุณวุฒิสายวิศวกรรมยานยนต์จากสถาบันต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำลังหลักในการผลักดันให้การจัดงาน Car of The Year 2017 ประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งยังเป็นการกระตุ้นและผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นในทุก ๆ ด้าน
หลักเกณฑ์การพิจารณา
การกำหนดหลักเกณฑ์และหัวข้อในการพิจารณาคะแนนของคณะกรรมการนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งในส่วนแรกนั้น คณะกรรมการจะพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ของตัวรถ ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ และในส่วนที่สองนั้น จะเป็นการพิจารณาจากการขับขี่จริงในสนามทดสอบตามสถานีต่าง ๆ ที่ได้จำลองเหตุการณ์ไว้
ส่วนที่ 1 การให้คะแนนพิจารณาจากหัวข้อดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์การพิจารณาคะแนนในการทดสอบรถยนต์
|
|
สมรรถนะ
|
ในหัวข้อสมรรถนะ จะพิจารณาจากสมรรถนะของเครื่องยนต์และระบบต่างๆ เช่น ระบบส่งกำลัง |
ความปลอดภัย
|
หัวข้อความปลอดภัยนั้น ถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญ ซึ่งในหัวข้อนี้จะพิจารณาถึงระบบความปลอดภัยทั้งหมดของรถเป็นหลัก |
เทคโนโลยีพิเศษ
|
อีกหนึ่งจุดที่ควรมีการพิจารณา คือ การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้า มาใช้ในการผลิตรถ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมรรถนะที่ดีเยี่ยม |
กฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม
|
ในหัวข้อนี้ จะสังเกตจากตัวรถ ว่าเมื่อมีการระบายของเสียออกมาแล้ว จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใดซึ่งคณะกรรมการจำเป็นต้องพิจารณาอย่างละเอียด |
ความสวยงาม
|
ความสวยงาม จะพิจารณาจากการออกแบบของตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอก หรือห้องผู้โดยสารภายใน รวมไปถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต ว่ามีคุณภาพเหมาะสม ประณีตหรือไม่ |
ความคุ้มค่า
|
นอกจากการพิจารณาในด้านต่างๆ แล้ว คณะกรรมการยังพิจารณาอีกด้วยว่า มีความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ในเรื่องของมาตรฐานราคา เมื่อพิจารณาเทียบกับตัวรถ |
ส่วนที่ 2 การให้คะแนนจากการขับขี่จริง
ส่วนที่สองนี้จะเป็นการทดลองขับรถจริงจากสถานีทดสอบต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ ณ สนามปทุมธานี สปีดเวย์ จ.ปทุมธานี โดยแต่ละสถานีนั้น ถูกจำลองตามสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน เพื่อทดสอบสมรรถนะทางด้านต่างๆ อาทิ การบังคับ ควบคุมพวงมาลัย ระบบช่วงล่าง สมรรถนะของเครื่องยนต์ แรงบิดและอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ซึ่งในขณะทดสอบ คณะกรรมการจะทำการจับเวลา โดยจะกำหนดจุดสำหรับจับเวลาเอาไว้ เพื่อนำเวลาที่ได้มาร่วมพิจารณาในการให้คะแนน
HANDLING TEST
การทดสอบ Handling Test หรือการบังคับควบคุม จะทดสอบเพื่อให้ทราบถึงความรู้สึกในการควบคุมรถ โดยเส้นทางทดสอบจะเป็นช่วงทางตรง และใช้ไพล่อนวางที่จุดกลางถนนเป็นแนวยาว ห่างกัน 20 เมตร ความเร็วที่ใช้ทดสอบอยู่ที่ 50 กม./ชม. โดยขับผ่านไพล่อนสลับซ้าย-ขวา ในรูปแบบ “สลาลอม” และอีกสถานีจะเป็นสถานี “เลนเชนจ์” ซึ่งในการขับขี่ต้องมีการหักเปลี่ยนช่องทางอย่างรวดเร็ว โดยในการทดสอบจะทำให้ผู้ขับขี่สัมผัสถึงอาการของรถ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนทิศทางการเลี้ยวอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งยังเป็นการทำให้รู้ถึงการยึดเกาะถนนและประสิทธิภาพระบบช่วงล่างของรถยนต์
SUSPENSION TEST
การทดสอบแรงบิดของเครื่องยนต์ โดยคณะกรรมการจะต้องขับรถออกจากจุดหยุดนิ่งที่กำหนด ไปจนถึงระยะที่วางไว้ เพื่อดูสมรรถนะของเครื่องยนต์ในการฉุดลากน้ำหนักตัวรถ โดยคณะกรรมการจะทำการจับเวลา ตั้งแต่เริ่มออกตัว จนถึงจุดที่กำหนด และจะได้นำเวลาที่ได้มาเปรียบเทียบพิจารณาให้คะแนน
TORQUE TEST
ผู้ขับขี่จะรู้สึกได้ถึงการซับแรงสั่นสะเทือนที่แตกต่างกันของรถยนต์แต่ละคัน และสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ โดยสถานีนี้จะพิสูจน์ให้เห็นถึงเทคโนโลยีในการออกแบบ และประสิทธิภาพในการใช้งานของช่วงล่าง ทั้งในเรื่องความสบายในการขับขี่ การซับแรงกระแทกและแรงสั่นสะเทือนต่าง ๆ ที่ส่งจากพื้นถนนเข้ามาสู่ตัวรถ
ACCELERATION TEST
ในสถานีทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบอัตราเร่งของรถ จาก 0-100 กม./ชม. โดยจะใช้สนามทดสอบซึ่งเป็นเส้นทางตรง โดยในขั้นตอนแรกจะเริ่มจากการให้ผู้ทดสอบขับรถออกไปยังจุดสตาร์ท จากนั้นจึงเริ่มต้นทดสอบด้วยการเหยียบคันเร่งให้เต็มที่ พร้อมทั้งจับเวลาจากจุดหยุดนิ่งจนถึงระดับความเร็ว 100 กม./ชม. โดยกรรมการจะนำเวลาที่ได้มาเปรียบเทียบอัตราเร่งของรถในแต่ละรุ่น และให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
คณะกรรมการตัดสิน
รายชื่อ
|
รายละเอียด
|
ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา | ประธานจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ประธานกรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
คุณจาตุรนต์ โกมลมิศร์ | รองประธานจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ กรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
คุณอโณทัย เอี่ยมลำเนา | ประธานจัดงานรถยอดเยี่ยมแห่งปี กรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
คุณพีระพงศ์ เอี่ยมลำเนา | รองประธานจัดงานรถยอดเยี่ยม กรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
รศ.พูลพร แสงบางปลา | ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย |
รศ.ดร.วิทยา ยงเจริญ | ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน (ERI) จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย |
รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ | อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
รศ.เธียรชัย บุณยะกุล | อาจารย์ภาควิชาเครื่องกล สถาบันพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
คุณบวร เปรมปรุง | สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย |
ผศ.ดร.ก่อเกียรติ บุญชูกุศล | คณะกรรมการ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย |
คุณอภิชาติ ฟุ้งลัดดา | ที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด |
คุณกมลสุรชัย วีระมงคล | ที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด |
คุณเถลิง พลวรรณาภา | ที่ปรึกษา บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด |
คุณภิญโญ ศิลปศาตร์ดำรง | บรรณาธิการบริหาร นิตยสารกรังด์ปรีซ์ |
คุณกิตติศักดิ์ ด้วงพิมพ์ | หัวหน้ากองบรรณาธิการ นิตยสารกรังด์ปรีซ์ |
คุณณัฐพล จีระมงคลกุล | กองบรรณาธิการ นิตยสารกรังด์ปรีซ์ |
คุณศรัณย์ รัตนจำรูญ | ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา นิตยสารกรังด์ปรีซ์ |
รถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2017
รางวัล
|
ยี่ห้อ / รุ่น
|
1. BEST SEDAN UNDER 1,200 cc. | MAZDA2 SEDAN SKYACTIV G |
2. BEST HATCHBACK UNDER 1,200 cc. | TOYOTA YARIS 1.2 G |
3. BEST SEDAN UNDER 1,500 cc. | TOYOTA VIOS |
4. BEST HATCHBACK UNDER 1,500 cc. | HONDA JAZZ |
5. BEST SEDAN UNDER 1,600 cc. | NISSAN SYLPHY 1.6 V |
6. BEST HATCHBACK UNDER 1,600 cc. | BMW 218i Active Tourer M Sport |
7. BEST SEDAN UNDER 1,800 cc. | TOYOTA COROLLA ALTIS 1.8V |
8. BEST HATCHBACK UNDER 1,800 cc. | FORD FOCUS ECOBOOST 1.5T |
9. BEST SEDAN UNDER 2,000 cc. | HONDA CIVIC 1.5 TURBO RS |
10. BEST HATCHBACK UNDER 2,000 cc. | MERCEDES-BENZ CLA 250 Shooting Brake |
11. BEST HATCHBACK DIESEL UNDER 2,000 cc. | BMW 320d Grand Turismo Sport |
12. BEST HYBRID SEDAN UNDER 2,000 cc. | BMW 330e |
13. BEST HYBRID HATCHBACK UNDER 2,000 cc. | MERCEDES-BENZ C 350 e |
14. BEST HYBRID MID-SIZE SEDAN UNDER 2,000 cc. | HONDA ACCORD HYBRID TECH |
15. BEST HYBRID MID-SIZE SEDAN UNDER 2,500 cc. | TOYOTA CAMRY HYBRID |
16. BEST HYBRID LUXURY CAR | MERCEDES-BENZ S 500 e AMG Premium |
17. BEST HYBRID SUPER CAR | BMW i8 Pure Impulse |
18. BEST HYBRID SUV UNDER 2,000 cc. | NISSAN X-TRAIL HYBRID 2.0V |
19. BEST HYBRID LUXURY SUV | BMW X5 xDrive 40e M Sport |
20. BEST MID-SIZE SEDAN UNDER 2,000 cc. | HONDA ACCORD 2.0EL |
21. BEST MID-SIZE HATCHBACK UNDER 2,000 cc. | VOLVO V60 T5 |
22. BEST MID-SIZE SEDAN UNDER 2,500 cc. | LEXUS GS 200 T |
23. BEST MID-SIZE SEDAN DIESEL | MERCEDES-BENZ E220d AMG Dynamic |
24. BEST LUXURY CAR | BMW 740 Li Pure Excellence |
25. BEST LUXURY CAR DIESEL | BMW 730 Ld M Sport |
26. BEST ROADSTER | PORSCHE 718 Boxster |
27. BEST CONVERTIBLE | MINI COOPER S Convertible |
28. BEST SPORT SEDAN | BMW 420i Grand Coupe Sport |
29. BEST SPORT COUPE | MERCEDES-BENZ S 500 Coupe AMG Dynamic |
30. BEST SPORT HATCHBACK 3 Door | MINI John Cooper Works |
31. BEST SPORT HATCHBACK 5 Door | MINI COOPER S 5D Seven Edi |
32. BEST SUPER CAR UNDER 4,000 cc. | PORSCHE 911 CARRERA |
33. BEST SUPER CAR OVER 4,000 cc. | ASTON MATIN VANQUISH |
34. BEST MPV UNDER 1,600 cc. | TOYOTA SIENTA |
35. BEST MPV UNDER 3,000 cc. | TOYOTA INNOVA CRYSTA |
36. BEST LUXURY MPV | MERCEDES-BENZ VITO 116 Tourer Select |
37. BEST SUV UNDER 1,600 cc. PETROL | MG GS 1.5 TURBO |
38. BEST SUV UNDER 1,800 cc. PETROL | HONDA HR-V 1.8 EL |
39. BEST SUV UNDER 2,000 cc. PETROL | MAZDA CX-3 2.0 SP |
40. BEST SUV UNDER 1,600 cc. DIESEL | MAZDA CX-3 1.5D |
41. BEST SUV UNDER 2,000 cc. DIESEL | BMW X4 xDrive20d M Sport |
42. BEST SUV UNDER 2,500 cc. DIESEL | MERCEDES-BENZ GLC 250d 4MATIC Coupe AMG PLUS |
43. BEST LUXURY SUV PETROL | LEXUS RX 200t |
44. BEST LUXURY SUV DIESEL | MERCEDES-BENZ GLE 350d 4MATIC Coupe AMG Dynamic |
45. BEST PICKUP 2WD UNDER 2,500 cc. | ISUZU D-MAX 1.9 Ddi BLUE POWER |
46. BEST PICKUP 2WD UNDER 3,200 cc. | TOYOTA HILUX REVO 2.8J B-CAB |
47. BEST PICKUP 4WD UNDER 2,500 cc. | NISSAN NAVARA DOUBLE CAB SPORTECH |
48. BEST PICKUP 4WD UNDER 3,200 cc. | ISUZU D-MAX V-Cross Max 4x4 |
49. BEST HIGH-LIFT FREESTYLE CAB 2,500 cc. | CHEVROLET COLORADO |
50. BEST HIGH-LIFT PICKUP 2,500 cc. | FORD RANGER FX4 Double Cab 2.2L |
51. BEST HIGH-LIFT PICKUP 3,200 cc. | TOYOTA HILUX REVO 2.8G Prerunner |
52. BEST PPV DIESEL 2WD UNDER 2,500 cc. | ISUZU MU-X 1.9 Ddi BLUE POWER |
53. BEST PPV DIESEL 2WD UNDER 3,200 cc. | TOYOTA FORTUNER 2.8V 2WD |
54. BEST PPV DIESEL 4WD UNDER 2,500 cc. | CHEVROLET TRAILBLAZER LTZ1 4WD |
55. BEST PPV DIESEL 4WD UNDER 3,200 cc. | FORD EVEREST 3.2 Titanium 4WD |
รางวัลพิเศษประจำปี 2017
รางวัล
|
ยี่ห้อ / รุ่น
|
1. THE MOST POPULAR PICKUP | ISUZU D-MAX 1.9 Ddi BLUE POWER |
2. THE BEST ECO-FRIENDLY PICKUP | ISUZU D-MAX 1.9 Ddi BLUE POWER |
3. THE MOST INNOVATION DIESEL ENGINE | ISUZU 1.9 Ddi BLUE POWER |
4. BEST SELLING MPV | HYUNDAI H-1 |
5. BEST SELLING CAR | TOYOTA |
6. BEST EXPORT CAR | TOYOTA |
7. BEST FUEL ECONOMY ECO CAR | MITSUBISHI MIRAGE |
8. BEST ECO SEDAN | MITSUBISHI ATTRAGE |
9. THE MOST ADVANCED PPV | MITSUBISHI PAJERO SPORT |
10. BEST RIDING QUALITY PICKUP | MITSUBISHI TRITON |
11. BEST FUEL ECONOMY PICKUP UNDER 2,500 cc. | ISUZU D-MAX 1.9 Ddi BLUE POWER |
12. BEST FUEL ECONOMY PICKUP UNDER 3,500 cc. | TOYOTA HILUX REVO |
13. BEST SPORT SEDAN UNDER 1,200 cc. | NISSAN ALMERA NISMO PERFORMANCE PACKAGE |
14. BEST PERFORMANCE SPORT SUV | PORSCHE MACAN |
15. BEST NARROW BODY UNDER 2,500 cc. | NISSAN NAVARA KING CAB |
16. BEST HI-TECH HYBRID CAR | VOLVO XC 90 |
17. BEST SELLING TYRE | BRIDGESTONE |
18. BEST IMPORT TYRE | DUNLOP |
19. BEST INSURANCE COMPANY | THE VIRIYAH INSURANCE |
20. BEST CAR RENTAL & SERVICES | MASTER CAR RENTAL |
21. BEST CAR FINANCE OF THE YEAR | KRUNGSRI AUTO-BANK OF AYUDHYA PCL |
22. THE BEST CSR PROJECT OF THE YEAR | “ISUZU GIVES WATER FOR LIFE” PROJECT |
BULLETIN