HISTORY - ประวัติความเป็นมา
CAR OF THE YEAR 2019
กิจกรรม Car of The Year 2019 ในครั้งนี้ นับเป็นปีที่ 21 ซึ่ง บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะแกนนำผู้จัดงานมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อคัดสรรรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี จากการทดสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ รวมทั้งยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย ผู้ทรงคุณวุฒิสายวิศวกรรมยานยนต์ จากสถาบันต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำลังหลักในการผลักดันให้การจัดงาน Car of The Year 2019 ประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งยังเป็นการกระตุ้นและ ผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นใน ทุกๆ ด้าน
สำหรับการจัดงาน Car of The Year 2019 นอกจากจะเป็น บททดสอบรถยนต์ เพื่อคัดสรรรถยนต์ที่ดีที่สุดในประเภทต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นรางวัลที่สะท้อนให้เห็นถึงการยกระดับความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี แสดงศักยภาพความก้าวหน้าของการออกแบบและการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย และรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ เป็นเครื่องยืนยันและการันตีคุณภาพมาตรฐานยานยนต์
ซึ่งงาน Car of The Year 2019 ในปีนี้ ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสนามปทุมธานี สปีดเวย์ ให้ใช้พื้นที่จัดงาน ซึ่งมีค่ายรถยนต์หลากหลายแบรนด์ส่งรถเข้าร่วมทดสอบกว่า 132 คัน และงานครั้งนี้ก็สำเร็จลุล่วงดังที่คาดหมายไว้และได้มาซึ่งบทสรุปของรางวัลในประเภทต่าง ๆ โดยคะแนนทั้งหมดมาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน และได้ทำการประกาศผลมอบรางวัลในวันที่ 1 มีนาคม 2562 โดยข้อมูลทั้งหมดในงานนี้ จะใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้่ผู้บริโภคต่อไป รวมทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอีกทางหนึ่ง
หลักเกณฑ์การพิจารณา
การกำหนดหลักเกณฑ์และหัวข้อในการพิจารณาคะแนนของคณะกรรมการนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งในส่วนแรกนั้น คณะกรรมการจะพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ของตัวรถ ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ และในส่วนที่สองนั้น จะเป็นการพิจารณาจากการขับขี่จริงในสนามทดสอบตามสถานีต่าง ๆ ที่ได้จำลองรูปแบบการทดสอบตามหัวข้อต่าง ๆ
ส่วนที่ 1 การให้คะแนนพิจารณาจากหัวข้อดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์การพิจารณาคะแนนในการทดสอบรถยนต์
|
|
สมรรถนะ
|
ในหัวข้อสมรรถนะ จะพิจารณาจากสมรรถนะของเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ เช่น ระบบส่งกำลัง |
ความปลอดภัย
|
หัวข้อความปลอดภัยนั้น ถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญ ซึ่งในหัวข้อนี้จะพิจารณาถึงระบบความปลอดภัยทั้งหมดของรถเป็นหลัก |
เทคโนโลยีพิเศษ
|
อีกหนึ่งจุดที่ควรมีการพิจารณา คือ การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการผลิตรถ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมรรถนะที่ดีเยี่ยม |
กฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม
|
ในหัวข้อนี้ จะสังเกตจากตัวรถ ว่าเมื่อมีการระบายของเสียออกมาแล้ว จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด ซึ่งคณะกรรมการจำเป็นต้องพิจารณาอย่างละเอียด |
ความสวยงาม
|
ความสวยงาม จะพิจารณาจากการออกแบบของตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอก หรือห้องผู้โดยสารภายใน รวมไปถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต ว่ามีคุณภาพเหมาะสมประณีตหรือไม่ |
ความคุ้มค่า
|
นอกจากการพิจารณาในด้านต่าง ๆ แล้ว คณะกรรมการยังพิจารณาอีกด้วยว่า มีความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ในเรื่องของมาตรฐานราคา เมื่อพิจารณาเทียบกับตัวรถ |
ส่วนที่ 2 การให้คะแนนจากการขับขี่จริง
ส่วนที่สองนี้จะเป็นการทดลองขับรถจริงจากสถานีทดสอบต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้ ณ สนามปทุมธานี สปีดเวย์ จ.ปทุมธานี โดยแต่ละสถานีนั้น ถูกจำลองตามสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน เพื่อทดสอบสมรรถนะทางด้านต่าง ๆ อาทิ การบังคับควบคุมพวงมาลัย ระบบช่วงล่าง สมรรถนะของเครื่องยนต์ แรงบิดและอัตราเร่งจาก 0-80 กม./ชม. ซึ่งในขณะทดสอบ คณะกรรมการจะทำการจับเวลา โดยจะกำหนดจุดสำหรับจับเวลาเอาไว้ เพื่อนำเวลาที่ได้มาร่วมพิจารณาในการให้คะแนน
HANDLING TEST
การทดสอบ Handling Test หรือการบังคับควบคุม จะทดสอบเพื่อให้ทราบถึงความรู้สึกในการควบคุมรถ โดยเส้นทางทดสอบจะเป็นช่วงทางตรง และใช้ไพล่อนวางที่จุดกลางถนนเป็นแนวยาวห่างกัน 20 เมตร ความเร็วที่ใช้ขึ้นอยู่กับความสามารถของกรรมการแต่ละคน โดยขับผ่านไพล่อนสลับซ้าย-ขวา ในรูปแบบ "สลาลอม" และอีกสถานีจะเป็นสถานี "เลนเชนจ์" ซึ่งในการขับขี่ต้องมีการหักเปลี่ยนช่องทางอย่างรวดเร็ว โดยในการทดสอบจะทำให้ผู้ขับขี่สัมผัสถึงอาการของรถในช่วงที่มีการเปลี่ยนทิศทางการเลี้ยวอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งยังเป็นการทำให้รู้ถึงการยึดเกาะถนนและประสิทธิภาพระบบช่วงล่างของรถยนต์
TORQUE TEST
การทดสอบแรงบิดของเครื่องยนต์ โดยคณะกรรมการจะต้องขับรถออกจากจุดหยุดนิ่งที่กำหนดไปจนถึงระยะที่วางไว้ เพื่อดูสมรรถนะของเครื่องยนต์ในการฉุดลากน้ำหนักตัวรถ โดยคณะกรรมการจะทำการจับเวลา ตั้งแต่เริ่มออกตัวจนถึงจุดที่กำหนดและจะได้นำเวลาที่ได้มาเปรียบเทียบพิจารณาให้คะแนน
SUSPENSION TEST
ผู้ขับขี่จะรู้สึกได้ถึงการซับแรงสั่นสะเทือนที่แตกต่างกันของรถยนต์แต่ละคันและ สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ โดยสถานีนี้จะพิสูจน์ให้เห็นถึงเทคโนโลยีในการออกแบบและประสิทธิภาพในการใช้งานของช่วงล่างทั้งในเรื่องความสบายในการขับขี่ การซับแรงกระแทกและแรงสั่นสะเทือนต่าง ๆ ที่ส่งจากพื้นถนนเข้ามาสู่ตัวรถ
ACCELERATION TEST
ในสถานีทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบอัตราเร่งของรถโดยจะใช้สนามทดสอบซึ่งเป็นเส้นทางตรง โดยในขั้นตอนแรกจะเริ่มจากการให้ผู้ทดสอบขับรถออกไปยังจุดสตาร์ต จากนั้นจึง เริ่มต้นทดสอบด้วยการเหยียบคันเร่งให้เต็มที่ พร้อมทั้งจับเวลาจากจุดหยุดนิ่งจนถึงระดับความเร็วไม่ต่ำกว่า 80 กม./ชม.โดยกรรมการจะนำเวลาที่ได้มาเปรียบเทียบอัตราเร่งของรถในแต่ละรุ่น และให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
คณะกรรมการตัดสิน
รายชื่อ
|
รายละเอียด
|
ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา | ประธานจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ประธานกรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
คุณจาตุรนต์ โกมลมิศร์ | รองประธานจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ กรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
คุณอโณทัย เอี่ยมลำเนา | ประธานจัดงานรถยอดเยี่ยมแห่งปี กรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
คุณพีระพงศ์ เอี่ยมลำเนา | รองประธานจัดงานรถยอดเยี่ยม กรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
รศ.เธียรชัย บุณยะกุล | อาจารย์ภาควิชาเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
รศ.ดร.วิทยา ยงเจริญ | ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน (ERI) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ | อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รศ.เธียรชัย บุณยะกุล | อาจารย์ภาควิชาเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
บวร เปรมปรุง | สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย |
ผศ.ดร.ก่อเกียรติ บุญชูกุศล | คณะกรรมการ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย |
อภิชาติ ฟุ้งลัดดา | ที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค กรังด์ปรีซ์ |
เถลิง พลวรรณาภา | ที่ปรึกษา กรังด์ปรีซ์ |
ภิญโญ ศิลปศาสตร์ดำรง | บรรณาธิการบริหาร นิตยสารกรังด์ปรีซ์ |
กิตติศักดิ์ ด้วงพิมพ์ | หัวหน้ากองบรรณาธิการ นิตยสารกรังด์ปรีซ์ |
ณัฐพล จีระมงคลกุล | หัวหน้ากองบรรณาธิการ นิตยสารกรังด์ปรีซ์ |
ศรัณย์ รัตนจำรูญ | ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา นิตยสารกรังด์ปรีซ์ |
รถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2019
รางวัล
|
ยี่ห้อ / รุ่น
|
1. BEST SEDAN UNDER 1,300 cc. | TOYOTA YARIS ATIV 1.2G |
2. BEST HATCHBACK UNDER 1,300 cc. | SUZUKI SWIFT GLX-Navi CVT |
3. BEST SEDAN UNDER 1,500 cc. | HONDA CITY 1.5 SV+ |
4. BEST HATCHBACK UNDER 1,500 cc. | MG3 1.5 L V |
5. BEST SEDAN UNDER 1,600 cc. | HONDA CIVIC RS |
6. BEST HATCHBACK UNDER 1,600 cc. | HONDA CIVIC HATCHBACK 1.5 VTEC TURBO |
7. BEST SEDAN UNDER 1,800 cc. | HONDA CIVIC 1.8 EL |
8. BEST SEDAN UNDER 2,000 cc. | MERCEDES-BENZ CLA 250 AMG Dynamic |
9. BEST HATCHBACK UNDER 2,000 cc. | BMW 118i M Sport |
10. BEST HATCHBACK DIESEL UNDER 1,600 cc. | MAZDA2 SKYACTIV D |
11. BEST SEDAN DIESEL UNDER 2,000 cc. | MERCEDES-BENZ C 220 d AMG Dynamic |
12. BEST HYBRID SEDAN UNDER 2,000 cc. | BMW 330e M Sport |
13. BEST HYBRID MID-SIZE SEDAN UNDER 2,000 cc. | VOLVO S90 T8 R-Design |
14. BEST HYBRID MID-SIZE SEDAN UNDER 2,500 cc. | TOYOTA CAMRY 2.5HV Premium |
15. BEST HYBRID LUXURY CAR | PORSCHE PANAMERA 4 E-Hybrid Sport Turismo |
16. BEST HYBRID SUPER CAR | BMW i8 ROADSTER |
17. BEST HYBRID SUV UNDER 2,000 cc. | TOYOTA C-HR HV Hi |
18. BEST HYBRID LUXURY SUV | PORSCHE CAYENNE E-Hybrid |
19. BEST MID-SIZE SEDAN UNDER 2,000 cc. | HONDA ACCORD 2.0 EL i-VTEC |
20. BEST MID-SIZE SEDAN UNDER 3,000 cc. | AUDI A7 Sportback |
21. BEST MID-SIZE SEDAN DIESEL | MERCEDES-BENZ CLS 300 d AMG Premium |
22. BEST MID-SIZE HATCHBACK DIESEL | BMW 630d GT M Sport |
23. BEST LUXURY CAR UNDER 3,500 cc. | AUDI A8L Prestige |
24. BEST LUXURY CAR OVER 3,500 cc. | BMW M760Li xDrive |
25. BEST LUXURY CAR DIESEL | MERCEDES-BENZ S 350 d AMG Premium |
26. BEST ROADSTER | MERCEDES-AMG SLC 43 |
27. BEST CONVERTIBLE | BMW 430i Convertible Luxury |
28. BEST SPORT SEDAN | BMW M5 |
29. BEST SPORT COUPE | BMW M4 Coupe |
30. BEST SPORT HATCHBACK 3 Door | MINI JOHN COOPER WORKS HATCH |
31. BEST SPORT HATCHBACK 5 Door | MINI JOHN COOPER WORKS CLUBMAN ALL4 |
32. BEST SUPER CAR CONVERTIBLE | MERCEDES-AMG GT C Roadster |
33. BEST SUPER CAR | ASTON MARTIN NEW VANTAGE |
34. BEST MPV UNDER 1,600 cc. | MITSUBISHI XPANDER GT |
35. BEST MPV UNDER 3,000 cc. | KIA GRAND CARNIVAL |
36. BEST SUV UNDER 1,400 cc. PETROL | AUDI Q2 35 TFSI |
37. BEST SUV UNDER 1,600 cc. PETROL | MG ZS 1.5 X |
38. BEST SUV UNDER 2,000 cc. PETROL | MERCEDES-AMG GLA 45 4MATIC |
39. BEST SUV UNDER 2,500 cc. PETROL | HONDA CR-V 2.4 EL 4WD |
40. BEST SUV UNDER 1,600 cc. DIESEL | MAZDA CX-3 1.5 XDL |
41. BEST SUV UNDER 2,000 cc. DIESEL | MERCEDES-BENZ GLC 250 d 4MATIC AMG Dynamic |
42. BEST SPORT SUV DIESEL | BMW X4 xDrive20d M Sport |
43. BEST LUXURY SUV PETROL | AUDI Q7 45 TFSI |
44. BEST LUXURY SUV DIESEL | MASERATI LEVANTE |
45. BEST PICKUP 2WD UNDER 2,500 cc. | TOYOTA HILUX REVO 2.4J |
46. BEST PICKUP 4WD UNDER 2,000 cc. | FORD RANGER RAPTOR |
47. BEST PICKUP 4WD UNDER 2,500 cc. | MITSUBISHI TRITON 4WD 2.4 GT PREMIUM |
48. BEST PICKUP 4WD UNDER 3,200 cc. | ISUZU D-MAX V-Cross MAX 4x4 |
49. BEST HIGH-LIFT PICKUP UNDER 2,000 cc. | ISUZU D-MAX STEALTH |
50. BEST HIGH-LIFT PICKUP UNDER 2,500 cc. | NISSAN NAVARA EL 7AT BLACK EDITION |
51. BEST PPV DIESEL 2WD UNDER 2,000 cc. | FORD EVEREST 2.0L Turbo 4x2 Trend |
52. BEST PPV DIESEL 2WD UNDER 2,500 cc. | NISSAN TERRA 2.3 VL 7AT |
53. BEST PPV DIESEL 2WD UNDER 3,200 cc. | ISUZU MU-X The ICONIC |
54. BEST PPV DIESEL 4WD UNDER 2,000 cc. | FORD EVEREST 2.0L Bi-Turbo Titanium+ 4x4 10AT |
55. BEST PPV DIESEL 4WD UNDER 2,500 cc. | MITSUBISHI PAJERO SPORT 4WD |
56. BEST PPV DIESEL 4WD UNDER 3,200 cc. | TOYOTA FORTUNER 2.8V 4WD |
รางวัลพิเศษประจำปี 2019
รางวัล
|
ยี่ห้อ / รุ่น
|
1. BEST RIDING QUALITY LUXURY SUV | AUDI Q7 45 TDi |
2. BEST MID-ENGINE SPORT CAR | PORSCHE CAYMAN 718 |
3. BEST TECHNOLOGY ECO CAR | MITSUBISHI ATTRAGE |
4. BEST PERFORMANCE SUV | MAZDA CX-5 |
5. BEST AMERICAN SPORT CAR | FORD MUSTANG 5.0 L V8 |
6. BEST RIDING QUALITY PICKUP | CHEVROLET COLORADO HIGH COUNTRY STORM |
7. BEST RIDING QUALITY PPV | CHEVROLET TRAILBLAZER LTZ |
8. THE MOST POPULAR PICKUP | ISUZU D-MAX 1.9 Ddi BLUE POWER |
9. THE BEST ECO-FRIENDLY PICKUP | ISUZU D-MAX 1.9 Ddi BLUE POWER |
10. THE BEST LIFESTYLE PICKUP | ISUZU D-MAX X-SERIES |
11. BEST SELLING CAR | TOYOTA |
12. BEST EXPORT CAR | TOYOTA |
13. BEST FUEL ECONOMY ECO CAR | MITSUBISHI MIRAGE |
14. BEST FUEL ECONOMY PICKUP UNDER 2,500 cc. | ISUZU D-MAX 1.9 Ddi BLUE POWER |
15. BEST FUEL ECONOMY PICKUP UNDER 3,500 cc. | TOYOTA HILUX REVO |
16. BEST SELLING TYRE | BRIDGESTONE |
17. BEST IMPORT TYRE | DUNLOP |
18. BEST INSURANCE COMPANY | THE VIRIYAH INSURANCE |
19. BEST CAR RENTAL & SERVICES | MASTER CAR RENTAL |
20. BEST CAR & BIKE FINANCE OF THE YEAR | KRUNGSRI AUTO-BANK OF AYUDHYA PCL |
21. THE BEST CSR PROJECT OF THE YEAR | “ISUZU GIVES WATER… FOR LIFE” PROJECT |
BULLETIN